สรรพคุณคอแลน
คอแลน
คอแลน ชื่อสามัญ Korlan
คอแลน ชื่อวิทยาศาสตร์ Nephelium hypoleucum Kurz จัดอยู่ในวงศ์เงาะ (SAPINDACEAE)
คอแลน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า คอลัง กะเบน สังเครียดขอน (ภาคใต้), มะแงว มะแงะ หมักงาน บักแงว หมักแวว หมักแงว หมากแงว (ภาคตะวันออก), ลิ้นจี่ป่า (ภาคตันออกเฉียงใต้) เป็นต้น ผลไม้ชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับลิ้นจี่ ลำไย เงาะ มามอนซีโย
คอแลน เป็นผลไม้เมืองร้อน ลักษณะคล้ายกับลิ้นจี่แต่เนื้อด้านในจะคล้ายกับเงาะ เนื้อมีรสเปรี้ยว ส่วนเมล็ดมีพิษไม่สามารถรับประทานได้
ลักษณะของคอแลน
- ต้นคอแลน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 10-20 เมตร เปลือกเรียบ มีสีน้ำตาลคล้ำ เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างทึบ ลักษณะของใบคอแลน เนื้อหนา ใบสีเขียว ออกเป็นช่อติดเรียงสลับยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร โดยใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับถึงรูปรี ติดตรงข้าม 1-3 คู่ โคนใบมนและเบี้ยว ขอบใบเรียบ หลังใบเกลี้ยงเป็นมัน ส่วนท้องใบสีจาง
- ดอกคอแลน มีขนาดเล็ก มีสีขาวอมเขียว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ทุกส่วนของช่อดอกจะมีขนสีเทาทั่วไป โคนกลีบรองดอกจะติดกันเป็นรูปถ้วยปากกว้าง ปลายแยกเป็น 5 แฉก ส่วนกลีบดอกไม่มี มีเกสรตัวผู้ 5 อัน มีรังไข่กลมและมีขนปกคลุม
- ผลคอแลน ลักษณะเป็นรูปรีถึงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ลักษณะของผิวจะขรุขระ เป็นปมเล็ก ๆ กระจายไปทั่ว ผลอ่อนจะเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่จัดจะออกเป็นสีแดงเข้ม โดยในผลจะมีเมล็ด 1 เมล็ด และมีเนื้อเยื่อใส ๆ และน้ำหุ้มเมล็ดอยู่
สรรพคุณของคอแลน
- ช่วยทำให้ชุ่มคอ
- ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และเพิ่มพลังงาน
- ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มันจึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ช่วยเสริมสร้างสมาธิ แก้ปัญหาสมาธิสั้น
- ช่วยลดความเครียด
- ช่วยในการย่อยอาหาร
- ใช้เป็นยาระบาย
- ช่วยต่อสู้กับเชื้อหวัดและไวรัสไข้หวัดใหญ่
ประโยชน์ของคอแลน
- ผลแก่ใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ มีรสหวานอมเปรี้ยว
- ไม้คอแลน เนื้อเหนียว แข็ง และละเอียด สามารถนำไปใช้ทำเป็นเครื่องมือทางการเกษตรได้ เช่น คันไถ ด้ามเครื่องได้ ฯลฯ
แหล่งอ้างอิง :https://medthai.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น