สรรพคุณขององุ่น


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ องุ่น

องุ่น

องุ่น ชื่อสามัญ Grape, Grape vine[2

องุ่น ชื่อวิทยาศาสตร์ Vitis vinifera L. จัดอยู่ในวงศ์องุ่น (VITACEAE)
องุ่น มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า ผูเถา (จีนกลาง), ผู่ท้อ (จีนแต้จิ๋ว) เป็นต้น[1]



ลักษณะของต้นองุ่น

  • ต้นองุ่น จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยจำพวกเถา มีความยาวได้ประมาณ 10 เมตร ทั้งต้นมีขนปกคลุม เถาอ่อนผิวเรียบ ตามข้อเถามีมือสำหรับยึดเกาะ และมีขนปกคลุมทั้งต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด[1],[2],[3]

ไร่องุ่น
ต้นองุ่น
  • ใบองุ่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปกลมรี กลมรี หรือกลมรูปไข่ มีหยักคล้ายรูปฝ่ามือ หนึ่งใบจะมีรอยเว้าประมาณ 3-5 รอย ปลายใบแหลม โคนใบเว้าเข้าหากันเป็นรูปหัวใจ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย เนื้อใบบาง ใต้ใบมีขนปกคลุม ความยาวและความกว้างของใบมีขนาดพอ ๆ กัน คือกว้างยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ส่วนก้านใบนั้นยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร[1],[2]
ใบองุ่น
  • ดอกองุ่น ออกดอกเป็นช่อตรงข้ามกันใบ ลักษณะกลมยาวใหญ่ ดอกย่อยเป็นสีเหลืองอมสีเขียว แบ่งเป็น 5 กลีบย่อย แตกออกเป็นแฉก 5 แฉก มีรังไข่ 2 อัน ในแต่ละรังไข่จะมีไข่อ่อน 2 เมล็ด ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านเกสรเพศผู้จะมีขนาดยาว ส่วนก้านเกสรเพศเมียสั้น กลม เมื่อดอกโรยจะติดผล[1]
ดอกองุ่น
  • ผลองุ่น ออกผลเป็นพวง ผลย่อยมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือกลมรีเป็นรูปไข่ ผลเป็นสีเขียว สีม่วงแดง หรือสีม่วงเข้ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ที่ปลูก เปลือกผลจะมีผงสีขาวเคลือบอยู่ เนื้อในผลขององุ่นจะฉ่ำน้ำ ภายในมีเมล็ดประมาณ 1-3 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดองุ่นเป็นรูปยาวรี[1]

องุ่นเขียว

องุ่นแดง
องุ่นดำ
สำหรับองุ่นถ้าคุณลองทานจะรู้ว่าหวานอร่อยแค่ไหน มีทั้งเปรี้ยวและหวานน่ะคาบ

สรรพคุณขององุ่น

  1. ผลมีรสหวาน เปรี้ยวเล็กน้อย เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อปอ ม้าม และไต ใช้เป็นบำรุงโลหิต (ผล)[1],[2],[3]
  2. ผลมีสรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง (ผล)[2],[3] ให้ใช้ผลองุ่นแห้งและโสม อย่างละ 3 กรัม นำมาแช่ในเหล้าประมาณ 1 คืน แล้วนำมาทาบริเวณฝ่ามือและแผ่นหลัง (ผล)[1]
  3. ช่วยลดความดันโลหิตสูง (ผล)[2]
  4. ช่วยลดไขมันในเลือด ด้วยการใช้เมล็ดองุ่นนำมาบดให้เป็นผงแห้ง บรรจุแคปซูลกิน 1-2 เม็ด เช้าและเย็น (เมล็ด)[2]
  5. ผลมีสรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง (ผล)[2]
  6. ผลนำมาคั้นเอาน้ำรับประทาน จะช่วยแก้อาการหงุดหงิดได้ (ผล)[1]
  7. ช่วยแก้หัวใจเต้นผิดปกติ แก้เหงื่อออกไม่รู้ตัว เหงื่อออกเนื่องจากหัวใจไม่ปกติ (ผล)[1],[2],[3]
  8. ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้เลือดน้อย โลหิตจาง (ผล)[1]
  9. เถาและใบมีรสชุ่มฝาด สุขุม มีสรรพคุณเป็นยาแก้ตาแดง (เถาและใบ)[2],[3]
  10. ช่วยแก้อาการไอ ไอเรื้อรัง (ผล)[1],[3]
  11. ใช้รักษาอาการอาเจียนเป็นเลือด ด้วยการใช้รากองุ่นสด รากหญ้าคา รากไวเช่า รากบัวหลวง ใบสนแผง (สนหางสิงห์) และดอกแต้ฮวย อย่างละ 15 กรัม และเนื้อสัตว์นำมาต้มกับน้ำกิน (ราก)[3]
  12. ผลสดนำมาคั้นเอาน้ำรับประทานแก้กระหายน้ำ หรือใช้ผลสดนำมาคั้นเอาน้ำ แล้วใช้ภาชนะที่ปั้นด้วยดินเผา เคี่ยวผสมน้ำผึ้งเล็กน้อย เก็บไว้กินทีละน้อย (ผล)[1],[3]
  13. น้ำมันที่ได้จากเมล็ดเมื่อนำมากินก่อนหรือพร้อมอาหาร จะสามารถลดกรดที่มีมากเกินไปในกระเพาะอาหารได้ (น้ำมันจากเมล็ด)[3]
  14. น้ำมันจากเมล็ดมีฤทธิ์เป็นยาระบาย (น้ำมันจากเมล็ด)[3]
  15. องุ่นแห้งมีสรรรพคุณช่วยหล่อลื่นลำไส้ และเป็นยาระบายอ่อน ๆ (ผลแห้ง)[3]
  16. ใบใช้เป็นยารักษาบิดในวัวควาย (ใบ)[3]
  17. ช่วยบำรุงครรภ์ ครรภ์รักษา (ผล)[1],[2],[3]
  18. ราก เถา และใบ มีรสชุ่ม ฝาด เป็นยาสุขุม ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด (ราก,เถา,ใบ)[1],[2],[3] ส่วนผลก็มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะเช่นกัน (ผล)[1],[2],[3]
  19. ผลมีสรรพคุณแก้ปัสสาวะขัด เจ็บ มีเลือดออก ด้วยการใช้ผลสดนำมาคั้นเอาน้ำ และน้ำต้มรากบัวหลวง น้ำต้มจากโกฐขี้เถ้า น้ำผึ้ง นำไปต้มกินครั้งละ 2 ถ้วยชา (ผล)[3]
  20. ผลมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคหนองใน (ผล)[2] ให้ใช้ผลสดนำมาคั้นเอาน้ำ และน้ำต้มรากบัวหลวง น้ำต้มจากโกฐขี้เถ้า น้ำผึ้ง นำไปต้มกินครั้งละ 2 ถ้วยชา (ผล)[3]
  21. ผลองุ่นมีสรรพคุณช่วยบำรุงไต (ผล)[1],[2],[3]
  22. ช่วยขับลมชื้นในร่างกาย แก้บวมน้ำ (ราก,เถา,ใบ)[1],[2],[3] แก้ตัวบวมน้ำ (ผล)[2],[3]
  23. ช่วยขับน้ำดี (น้ำมันจากเมล็ด)[3]
  24. องุ่นที่ไม่แก่จัดใช้กินวันละประมาณ 1.4-2.7 กิโลกรัม เป็นยารักษาอาการตับและดีเสื่อมสมรรถภาพหรือทำงานไม่ดี (ผล)[3]
  25. ใบใช้เป็นยาห้ามเลือดในริดสีดวงทวาร และบาดแผลสด (ใบ)[3]
  26. ใบและเถามีฤทธิ์ยาสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น (แต่ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค) (ใบและเถา)[3]
  27. ราก เถา และใบ ใช้ภายนอกเป็นยารักษาฝีหนองอักเสบ แผลบวมเป็นหนอง (ราก,เถา,ใบ)[1],[2],[3]
  28. รากสดใช้ตำพอกแก้อาการฟกช้ำได้ (ราก)[3]
  29. ช่วยบำรุงเส้นเอ็นและกระดูก (ผล)[1]
  30. ช่วยแก้อาการปวดหลัง ให้ใช้ผลองุ่นแห้งและโสม อย่างละ 3 กรัม นำมาแช่ในเหล้าประมาณ 1 คืน แล้วนำมาทาบริเวณฝ่ามือและแผ่นหลัง จะช่วยแก้อาการปวดหลังได้ (ผล)[1]

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คุณประโยชน์มากมายต้องระกำ

สรรพคุณของลูกจันทร์

สรรพคุณของพุทรา