สรรพคุณของมะม่วงหิมพานต์
ประวัติมะม่วงหิมพานต์
มะม่วงหิมพานต์ มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศอเมริกาใต้บริเวณแถบประเทศบราซิล แล้วค่อยแพร่กระจายไปสู่ทวีปแอฟริกา อเมริกาเหนือ ยุโรป และทวีปเอเชีย โดยในช่วงแรกที่นิยมปลูกในทวีปอเมริกาจะเป็นการปลูกเพื่อปลูกเพิ่มพื้นที่ป่า ซึ่งปลูกทั่วไปในแทนซาเนีย ไรบีเรีย และประเทศอื่นๆ
ต่อมาประมาณศตวรรษที่ 16 ชาวโปรตุเกสได้นำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์เข้ามาทดลองปลูกในประเทศอินเดีย ซึ่งสามารถเติบโต และให้ผลได้ดีมาก จึงนิยมปลูกกันมากขึ้น โดยเฉพาะการปลูกตามชายฝั่งเพื่อเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะตามชายฝั่ง ซึ่งสามารถป้องกันการกัดเซาะอย่างได้ผลดี และมีการขยายปลูกเพื่อการค้ามากขึ้น ซึ่งขณะนั้น เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่อินเดียได้ยังกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศจนส่งออกเป็นรายใหญ่ของโลก จากนั้น จึงแพร่ลงมาทางประเทศศรีลังกา และแพร่เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มาเลเชีย และเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคใต้
มะม่วงหิมพานต์ ถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2444 ที่ถูกนำเข้ามาพร้อมกับยางพาราจากประเทศมาเลเชีย โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (ดอซิมบี้ ณ ระยอง) ซึ่งดำรงตำแหน่งเทศาภิบาลจังหวัดตรัง พร้อมกับทดลองปลูกครั้งแรกที่จังหวัดตรัง ซึ่งต่อมาจึงเริ่มนิยมปลูกมากขึ้นในภาคใต้
ต่อมา นายเธท ซิน จากหน่วยงาน FAO ได้นำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์จากโมโรเนีย ประเทศไลบีเรีย เข้ามาให้กองค้นคว้า และทดลอง กรมกสิกรรม (กรมวิชาการเกษตร) จำนวน 80 เมล็ด สำหรับทดลองปลูกที่สถานีไหม จังหวัดศรีษะเกษ และสถานีทดลองยางโป่งแรก จังหวัดจันทบุรี ในช่วงประมาณวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2504
ต่อมาประมาณวันที่ 14 ของเดือน และปีเดียวกัน หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่ ซึ่งเป็นอธิบดีกรมกสิกรรมในขณะนั้น ได้รับมอบเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ จำนวน 25 กิโลกรัม จากสถานทูตไทยในอินเดีย จึงได้ทดลองปลูกที่สถานีทั้ง 2 แห่ง เพิ่มอีก นอกจากนั้น ยังมีการนำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์จากประเทศบราซิลเข้ามาทดลองปลูกร่วมด้วย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
มะม่วงหิมพานต์ เป็นไม้ยืนต้นไม่พลัดใบขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 6-12 เมตร ลำต้นแตกกิ่งแขนงหลักปานกลาง แต่มีกิ่งย่อยมาก กิ่งแขนงหลักแตกออกเป็นแนวขนานกับพื้นดินทำให้รูปทรงพุ่มเป็นรูปร่ม กว้างประมาณ 4-10 เมตร
ลำต้น
มะม่วงหิมพานต์ เป็นไม้ยืนต้นไม่พลัดใบขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 6-12 เมตร ลำต้นแตกกิ่งแขนงหลักปานกลาง แต่มีกิ่งย่อยมาก กิ่งแขนงหลักแตกออกเป็นแนวขนานกับพื้นดินทำให้รูปทรงพุ่มเป็นรูปร่ม กว้างประมาณ 4-10 เมตร
ลำต้นมะม่วงหิมพานต์มีลักษณะทรงกลม ตั้งตรง และไม่สูงมาก เพราะลำต้นแตกกิ่งที่ความสูงไม่มาก เปลือกลำต้นค่อนข้างหนา และเรียบ มีสีเทาอมน้ำตาล
มะม่วงหิมพานต์เป็นผลไม้ที่ทานได้ยาก แต่ถ้าได้ลองทานแล้วคุณจะติดใจ
ประโยชน์มะม่วงหิมพานต์
1. เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ถือเป็นอาหารขบเคี้ยวที่นิยมรับประทานมาก และนิยมมากกว่าเมล็ดธัญพืชเกือบทุกชนิด เนื่องจากมีความกรอบ ให้รสมัน และมีกลิ่นหอม
2. เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ นิยมใช้ประกอบอาหารหลายเมนู อาทิ ใส่ส้มตำ ใส่ยำต่างๆ ใส่ไอศกรีม เป็นต้น
3. ผลเทียมที่ฉ่ำด้วยน้ำหวาน แต่อมฝาดเล็กน้อย ใช้สำหรับรับประทานเป็นผลไม้สด รวมถึงใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ น้ำผลไม้ปั่น ไวน์มะม่วงหิมพานต์ ไอศรีมมะม่วงหิมพานต์ แยม และน้ำส้มสายชู เป็นต้น
4. ยอดอ่อนใช้รับประทานสดหรือลวกจิ้มน้ำพริก หรือใช้รับประทานเป็นเครื่องเคียงต่างๆ
5. ผลเทียมใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์หรือใช้เลี้ยงสัตว์จำพวกนก กระรอก และสุกร เป็นต้น
6. ผลเทียมมีกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยกว่า 20 ชนิด สามารถใช้สกัดเป็นหัวน้ำหอมหรือผสมทำน้ำหอมได้
7. เปลือกเมล็ดนำมาสกัดกรดน้ำมันที่นำไปใช้ประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่
– ใช้ทำหมึกพิมพ์
– ใช้ผลิตสีทาบ้าน
– ใช้ในกระบวนการทำผ้าเบรก
– ใช้เป็นส่วนผสมของน้ำมันขัดโลหะ
– ใช้ทาไม้สำหรับป้องกันปลวก และแมลง
– ใช้เป็นน้ำมันในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติก
– ใช้เป็นส่วนผสมของกาว
– ใช้ในกระบวนการฟอกย้อม
8. เปลือกลำต้นใช้ต้มย้อมผ้า ย้อมแห ย้อมอวน
9. เปลือกนำมาตากแห้งจะกลายเป็นสีดำ นำมาต้มสกัดเพื่อใช้ทำหมึกประทับตราผ้า รวมถึงใช้สำหรับทำน้ำประสานในงานบัดกรีโลหะ
10. ยางที่ไหลออกจากจากเปลือกลำต้น เมื่อรวมกันเป็นก้อนจะมีสีเหลือง เรียกว่า กัม ใช้สำหรับทำน้ำมันขัดเงาโลหะหรือไม้แกะสลัก
11. ยางจากเปลือกนำมาเคี่ยวสำหรับทำกาว ทั้งงานไม้ และงานกระดาษ โดยเฉพาะหากนำยางดังกล่าวที่เคี่ยวแล้วหรือน้ำยางสดมาผสมกับน้ำมะนาวจะยิ่งทำให้เป็นกาวเหนียวมากขึ้น
12. เปลือกหุ้มเมล็ดที่กะเทาะออกแล้วนำมาใช้เป็นเชื้อสำหรับก่อไฟ ช่วยให้การก่อไฟติดได้ง่ายขึ้น
13. เนื้อไม้มะม่วงหิมพานต์เป็นไม้เนื้ออ่อนถึงแข็งปานกลาง ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุของต้น ต้นอ่อนมักให้สีเหลืองอมน้ำตาล ต้นที่มีอายุมากให้สีแดงหรือน้ำตาลอมแดง สามารถใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ อาทิ โต๊ะ ที่รองนั่ง เก้าอี้ เป็นต้น
14. ลำต้น กิ่ง และใบแห้งใช้ทำเชื้อเพลิงในครัวเรือน
1. เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ถือเป็นอาหารขบเคี้ยวที่นิยมรับประทานมาก และนิยมมากกว่าเมล็ดธัญพืชเกือบทุกชนิด เนื่องจากมีความกรอบ ให้รสมัน และมีกลิ่นหอม
2. เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ นิยมใช้ประกอบอาหารหลายเมนู อาทิ ใส่ส้มตำ ใส่ยำต่างๆ ใส่ไอศกรีม เป็นต้น
3. ผลเทียมที่ฉ่ำด้วยน้ำหวาน แต่อมฝาดเล็กน้อย ใช้สำหรับรับประทานเป็นผลไม้สด รวมถึงใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ น้ำผลไม้ปั่น ไวน์มะม่วงหิมพานต์ ไอศรีมมะม่วงหิมพานต์ แยม และน้ำส้มสายชู เป็นต้น
4. ยอดอ่อนใช้รับประทานสดหรือลวกจิ้มน้ำพริก หรือใช้รับประทานเป็นเครื่องเคียงต่างๆ
5. ผลเทียมใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์หรือใช้เลี้ยงสัตว์จำพวกนก กระรอก และสุกร เป็นต้น
6. ผลเทียมมีกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยกว่า 20 ชนิด สามารถใช้สกัดเป็นหัวน้ำหอมหรือผสมทำน้ำหอมได้
7. เปลือกเมล็ดนำมาสกัดกรดน้ำมันที่นำไปใช้ประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่
– ใช้ทำหมึกพิมพ์
– ใช้ผลิตสีทาบ้าน
– ใช้ในกระบวนการทำผ้าเบรก
– ใช้เป็นส่วนผสมของน้ำมันขัดโลหะ
– ใช้ทาไม้สำหรับป้องกันปลวก และแมลง
– ใช้เป็นน้ำมันในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติก
– ใช้เป็นส่วนผสมของกาว
– ใช้ในกระบวนการฟอกย้อม
8. เปลือกลำต้นใช้ต้มย้อมผ้า ย้อมแห ย้อมอวน
9. เปลือกนำมาตากแห้งจะกลายเป็นสีดำ นำมาต้มสกัดเพื่อใช้ทำหมึกประทับตราผ้า รวมถึงใช้สำหรับทำน้ำประสานในงานบัดกรีโลหะ
10. ยางที่ไหลออกจากจากเปลือกลำต้น เมื่อรวมกันเป็นก้อนจะมีสีเหลือง เรียกว่า กัม ใช้สำหรับทำน้ำมันขัดเงาโลหะหรือไม้แกะสลัก
11. ยางจากเปลือกนำมาเคี่ยวสำหรับทำกาว ทั้งงานไม้ และงานกระดาษ โดยเฉพาะหากนำยางดังกล่าวที่เคี่ยวแล้วหรือน้ำยางสดมาผสมกับน้ำมะนาวจะยิ่งทำให้เป็นกาวเหนียวมากขึ้น
12. เปลือกหุ้มเมล็ดที่กะเทาะออกแล้วนำมาใช้เป็นเชื้อสำหรับก่อไฟ ช่วยให้การก่อไฟติดได้ง่ายขึ้น
13. เนื้อไม้มะม่วงหิมพานต์เป็นไม้เนื้ออ่อนถึงแข็งปานกลาง ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุของต้น ต้นอ่อนมักให้สีเหลืองอมน้ำตาล ต้นที่มีอายุมากให้สีแดงหรือน้ำตาลอมแดง สามารถใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ อาทิ โต๊ะ ที่รองนั่ง เก้าอี้ เป็นต้น
14. ลำต้น กิ่ง และใบแห้งใช้ทำเชื้อเพลิงในครัวเรือน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น