สรรพคุณของพุทรา






ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พุทรา



พุทรา

พุทราจีน ชื่อสามัญ Jujube, Chinese date, Red date
พุทราจีน ชื่อวิทยาศาสตร์ Ziziphus jujuba Mill. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ziziphus mauritiana Lam.) จัดอยู่วงศ์พุทรา (RHAMNACEAE)[1]
สมุนไพรพุทราจีน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะตัน มะตันหลวง นางต้มต้น (ภาคเหนือ), บักทัน หมากกระทัน (ภาคอีสาน) เป็นต้น เป็นผลไม้ที่ใช้รับประทานมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนตอนใต้[1]
ต้นพุทราจีน เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีหนาม ในผลมีเมล็ดเดียว ผิวเรียบ เมื่อผลสุกจะเป็นสีเหลืองหรือบางสายพันธุ์จะเป็นสีแดงเข้ม[1] ส่วนสายพันธุ์ที่มีการเพาะปลูกในประเทศไทยได้แก่[3][1] ส่วนสายพันธุ์ที่มีการเพาะปลูกในประเทศไทยได้แก่[3

สรรพคุณของพุทราจีน

  1. ผลมีรสหวานมันและฝาด ช่วยบำรุงร่างกาย (ผล)[1]
  2. ผลช่วยบำรุงกำลัง[2] หรือสำหรับคนที่ผอมแห้งแรงน้อยหากรับประทานผลพุทราจะช่วยทำให้มีเรี่ยวแรงมากขึ้น (ผล)[5]
  3. พุทราจีนอุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย (ผล)[1],[4]
  4. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ผิวมีสุขภาพดีและแข็งแรง และป้องกันโรคเกี่ยวกับผิวพรรณได้ (ผล)[2]
  5. ช่วยบำรุงประสาทและสมอง (ผล)[1],[2],[4]
    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พุทรา
  1. ช่วยแก้โรคนอนไม่หลับ (ผล)[1],[2],[4]
  2. สรรพคุณของพุทราจีน ผลช่วยบำรุงโลหิต (ผล)[1],[2]
  3. ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง (ผล)[4]
  4. ช่วยบำรุงม้ามและตับ (ผล)[4]
  5. ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง (ผล)[2],[4]
  6. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด (ผล)[2],[4]
  7. ช่วยเสริมฤทธิ์ป้องกันหลอดเลือดหัวใจอุดตันและเส้นเลือดในสมองตีบ (ผล)[1]
  8. ช่วยป้องกันเส้นเลือดแข็งตัว เส้นเลือดหัวใจตีบตัน และเส้นเลือดในสมองแตกได้ (ผล)[2],[4]
  9. ผลพุทราจีนอุดมไปด้วยวิตามินเอ ซึ่งช่วยในการบำรุงสายตา ตาไม่ฟาง ป้องกันอาการตาบอดตอนกลางคืน (ผล)[1],[2]
  10. เมล็ดเมื่อนำมาป่นทำเป็นยาลดไข้ แก้อาการหวัดในเด็กได้ (เมล็ด)[2]
  11. เปลือกมีสารแทนนิน ใช้เป็นยาแก้อาการท้องเสียได้เป็นอย่างดี (เปลือกพุทรา)[2],[4]
  12. ช่วยขับปัสสาวะ (ผล)[4]
  13. เมล็ดเมื่อนำมาป่น ใช้เป็นยารักษาอาการชักในเด็กได้เป็นอย่างดี (เมล็ด)[2]
  14. ใบช่วยแก้อาการผื่นคันตามผิวหนังต่าง ๆ (ใบ)[2]
  15. ใบมีคุณสมบัติช่วยลดพิษจากการถูกแมลงสัตว์กัดต่อย (ใบ)[2]
  16. ผลใช้รับประทานเป็นยาบำรุง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คุณประโยชน์มากมายต้องระกำ

สรรพคุณของลูกจันทร์