บทความ

สรรพคุณคอแลน

รูปภาพ
คอแลน คอแลน ชื่อสามัญ  Korlan คอแลน ชื่อวิทยาศาสตร์  Nephelium hypoleucum Kurz จัดอยู่ในวงศ์เงาะ ( SAPINDACEAE ) คอแลน  มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า คอลัง กะเบน สังเครียดขอน (ภาคใต้), มะแงว มะแงะ หมักงาน บักแงว หมักแวว หมักแงว หมากแงว (ภาคตะวันออก), ลิ้นจี่ป่า (ภาคตันออกเฉียงใต้) เป็นต้น ผลไม้ชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับลิ้นจี่ ลำไย เงาะ มามอนซีโย คอแลน  เป็นผลไม้เมืองร้อน ลักษณะคล้ายกับลิ้นจี่แต่เนื้อด้านในจะคล้ายกับเงาะ เนื้อมีรสเปรี้ยว ส่วนเมล็ดมีพิษไม่สามารถรับประทานได้ ลักษณะของคอแลน ต้นคอแลน  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 10-20 เมตร เปลือกเรียบ มีสีน้ำตาลคล้ำ เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างทึบ ลักษณะของใบคอแลน เนื้อหนา ใบสีเขียว ออกเป็นช่อติดเรียงสลับยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร โดยใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับถึงรูปรี ติดตรงข้าม 1-3 คู่ โคนใบมนและเบี้ยว ขอบใบเรียบ หลังใบเกลี้ยงเป็นมัน ส่วนท้องใบสีจาง ดอกคอแลน  มีขนาดเล็ก มีสีขาวอมเขียว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ทุกส่วนของช่อดอกจะมีขนสีเทาทั่วไป โคนกลีบรองดอกจะติดกันเป็นรูปถ้วยปากกว้าง ปลายแยกเป็น 5 แฉก

สรรพคุณกระบก

รูปภาพ
กระบก กระบก ชื่อสามัญ  Barking deer’s mango, Wild almond กระบก ชื่อวิทยาศาสตร์  Irvingia malayana Oliv. ex A.W.Benn. จัดอยู่ในวงศ์กระบก ( IRVINGIACEAE ) สมุนไพรกระบก  มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า  มะลื่น  หมักลื่น (สุโขทัย, นครราชสีมา), ซะอัง (ตราด), หลักกาย (ส่วน-สุรินทร์), มื่น  มะมื่น  (ภาคเหนือ), บก  หมากบก   หมากกระบก  (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ),  กะบก กระบก  จะบก ตระบก (ภาคกลาง), จำเมาะ (เขมร), ไม้มื่น (ขมุ), เปรียวด้องเดี๋ยง (เมี่ยน), สือมั่วลื้อ(ม้ง)เป็นต้น ลักษณะของกระบก ต้นกระบก  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ ทรงเรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-30 เมตร ลำต้นเปลา เปลือกต้นมีสีเทาอ่อนปนสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ โคนต้นมักขึ้นเป็นพูพอน เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทุกชนิด ในที่กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ตามป่าดิบแล้ง ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ ป่าหญ้า และป่าแดงและยังจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ดด้วย ใบกระบก  มีใบเป็นใบเดี่ยวติดเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นร

สรรพคุณมะตูม

รูปภาพ
มะตูม มะตูม ชื่อสามัญ  Beal มะตูม ชื่อวิทยาศาสตร์  Aegle marmelos (L.) Corrêa จัดอยู่ในวงศ์ส้ม ( RUTACEAE ) สมุนไพรมะตูม  มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะปิน (ภาคเหนือ), ตูม ตุ่มตัง กะทันตาเถร (ภาคใต้) เป็นต้น มะตูมเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย เป็นพันธุ์ไม้มงคลประจำจังหวัดชัยนาทและยังถือว่าเป็นพันธุ์ไม้มงคลของศาสนาฮินดูที่นิยมปลูกในบ้านเราอีกด้วย โดยถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะ ส่วนบ้านเรานั้นมีความเชื่อว่าใบมะตูมสามารถนำมาใช้ป้องกันภูตผีปีศาจ เสนียดจัญไรได้ และมะตูมยังจัดว่าเป็นทั้งผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพและเป็นยาสมุนไพรที่เรารู้จักมาเนิ่นนาน เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยกินน้ำมะตูมกันมาบ้างแล้วล่ะ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงสรรพคุณของมะตูมหรือประโยชน์ของมะตูม งั้นเรามาดูกันดีกว่าครับ สรรพคุณของมะตูม ผลแก่แต่ไม่สุกใช้รับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย รักษาธาตุ บำรุงธาตุไฟ ผลสุกสามารถนำมาใช้เป็นยาระบายได้ ช่วยรักษาอาการท้องร่วง ท้องเดิน โรคลำไส้ ใช้รักษาอาการท้องผูกเรื้อรังได้ ใบสดนำมาคั้นเอาน้ำ ใช้แก้หวัด เปลือกรากและลำต้นจะช่วยแก้อาการไข้จับสั่น แก้ลม แก้มูกเล

สรรพคุณบักผีผ่วน

รูปภาพ
นมควาย นมควาย ชื่อวิทยาศาสตร์  Uvaria rufa Blume จัดอยู่ในวงศ์กระดังงา ( ANNONACEAE ) สมุนไพรนมควาย  มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า  นมแมวป่า  (เชียงใหม่),  ติงตัง  (นครราชสีมา),  สีม่วน  (ชัยภูมิ),  พีพวน   ผีพวนน้อย  (อุดรธานี),  พีพวนน้อย  (ชุมพร),  ตีนตั่ง   ตีนตั่งเครือ  (ศรีษะเกษ, อุบลราชธานี, นครราชสีมา),  นมวัว นมควาย   บุหงาใหญ่   หมากผีผวน  (พิษณุโลก, กระบี่), บุหงาใหญ่  นมแมวป่า หมากผีผ่วน  (ภาคเหนือ),  หำลิง   พีพวนน้อย  (ภาคอีสาน),  นมแมว   นมวัว  (ภาคกลาง),  นมควาย  (ภาคใต้), ลูกเตรียน กรีล (เขมร, ศรีสะเกษ, สุรินทร์),  บักผีผ่วน  (ลาว) เป็นต้น ลักษณะของต้นนมควาย ต้นนมควาย  มีถิ่นกำเนิดในหลาย ๆ ประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยจะพบได้ทุกภาค โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นไปได้ไกลประมาณ 5 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีม่วงอมเทา เนื้อไม้แข็ง กิ่งและยอดอ่อนปกคลุมไปด้วยขนละเอียดสีน้ำตาลแดงหนาแน่น แต่ถ้าแก่ไปผิวจะเกลี้ยงและไม่มีขน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดตลอดวัน โดยจัดเป็นพรร

สรรพคุณตะคร้อ

รูปภาพ
ตะคร้อ ตะคร้อ ชื่อสามัญ  Ceylon oak ตะคร้อ ชื่อวิทยาศาสตร์  Schleichera oleosa (Lour.) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pistacia oleosa Lour., Schleichera oleosa (Lour.) Oken) จัดอยู่ในวงศ์เงาะ ( SAPINDACEAE ) ตะคร้อ  มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า  กาซ้อง   คอส้ม  (เลย),  เคาะ  (นครพนม, พิษณุโลก),  ค้อ  (กาญจนบุรี),  เคาะจ้ก   มะเคาะ   มะจ้ก   มะโจ้ก  (ภาคเหนือ),  ตะคร้อไข่  (ภาคกลาง), ซะอู่เสก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กาซ้อ คุ้ย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี),  ปั้นรั้ว  (เขมร-สุรินทร์), ปั้นโรง (เขมร-บุรีรัมย์),  บักค้อ   ตะค้อ   หมากค้อ  เป็นต้น ลักษณะของตะคร้อ ต้นตะคร้อ  มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศสามารถพบได้ที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา ภูมิภาคอินโดจีนและอินโดนีเซีย [3]  โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำ เรือนยอดมีลักษณะเป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง กิ่งก้านมักคดงอ ลำต้นเป็นปุ่มปมและพูพอน เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเป็นสีน้ำตาลเทา เปลือกแตกเป็นสะเก็ดห

สรรพคุณตะขบ

รูปภาพ
ตะขบไทย ตะขบไทย ชื่อสามัญ Coffee plum, Indian cherry, Indian plum, East Indian plum, Rukam, Runeala plum ตะขบไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Flacourtia jangomas (Lour.) Raeusch. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Flacourtia cataphracta Roxb. ex Willd.) ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์สนุ่น ( SALICACEAE ) สมุนไพรตะขบไทย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ครบ (ปัตตานี), มะเกว๋นควาย (ภาคเหนือ), ตะขบควาย (ภาคกลาง), กือคุ (มลายู ปัตตานี) เป็นต้น ลักษณะของตะขบไทย ต้นตะขบไทย จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น เรือนยอดเป็นรูปไข่ทึบ โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนอ่อน แตกเป็นแผ่นบาง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พบขึ้นได้ตามป่าราบ ป่าโปร่ง ป่าดิบแล้ง และตามป่าผลัดใบ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-800 เมตร ใบตะขบไทย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะของใบกลมคล้ายกับใบพุทรา โดยมีลักษณะเป็นรูปรี รูปไข่แกมรูปขอบขนาน หรือรูปหอกกลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ ส่วนขอบใบจักตื้น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร แผ่นใ

สรรพคุณตะโก

รูปภาพ
ตะโกนา ตะโกนา ชื่อสามัญ Ebony ตะโกนา ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros rhodocalyx Kurz จัดอยู่ในวงศ์มะพลับ ( EBENACEAE ) สมุนไพรตะโกนา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะถ่านไฟผี (เชียงใหม่), นมงัว (นครราชสีมา), ตะโก มะโก พญาช้างดำ พระยาช้างดำ (ภาคเหนือ), โก (ภาคอีสาน), ตองโก (เขมร) เป็นต้น ลักษณะของตะโกนา ต้นตะโกนา จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก รูปทรงพุ่ม มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีดำ แตกเป็นร่องลึกเป็นสะเก็ดหนา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด (ไม่ค่อยเป็นที่นิยมนักเนื่องจากเติบโตได้ช้า) การตอนกิ่ง หรือการขุดล้อมเอามาจากธรรมชาติ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการแสงแดดแบบเต็มวัน มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี โดยพบว่ามีเขตการกระจายพันธุ์จากพม่าจนถึงภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบขึ้นได้ทุกภาคตามป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าละเมาะ และตามทุ่งนา ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 40-300 เมตร ใบตะโกนา ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีค่อนข้างกลม รูปไข่กลับ หรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนกลาย ๆ และรูปป้อม ปลายใบมนมีติ่งสั้นหรือมีรอยหยักเว้าเข้าเล็